Icon

Description Field of Study

ลักษณะสาขาวิชา

คหกรรมศาสตร์ ศึกษาทางด้านโภชนาการ ทฤษฎีอาหารและหลักการประกอบอาหาร ความรู้เรื่องผ้า หลักการตัดเย็บเสื้อผ้า ศิลปะประดิษฐ์ ฯลฯ
แนวทางการประกอบอาชีพ :
ตามสถานประกอบการด้านคหกรรมศาสตร์ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงงานอุตสาหกรรมและอาชีพอิสระ ธุรกิจส่วนตัว

เคมีประยุกต์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานและกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ระดับอะตอม โมเลกุล จนถึงสารในระดับมหาภาค สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ปัญหา อันนำไปสู่การประยุกต์หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางศาสตร์ด้านเคมี มุ่งเน้นการฝึกทักษะปฏิบัติการ ทางด้านเคมี เลือกใช้วิธีและเครื่องมือวิเคราะห์ทางเคมีได้อย่างเหมาะสม สามารถบูรณาการ และประยุกต์ความรู้ทางเคมีเข้ากับศาสตร์อื่น ๆ ได้ ทั้งในด้านปิโตรเคมี พลาสติก สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ อาหารและเกษตร เป็นต้น ศึกษาการแก้ปัญหาในกระบวนการผลิตและการควบคุมคุณภาพ ทั้งในระบบการผลิตและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการประกอบอาชีพ :
1. นักเคมีประจำหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
2. นักวิจัยทางด้านเคมี
3. ครูหรืออาจารย์เคมี
4. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์
5. ตำรวจพิสูจน์หลักฐาน
6. ผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือนักธุรกิจ

จุลชีววิทยา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์ เชื้อรา และไวรัส โดยศึกษา ความรู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับลักษณะทางสัณฐานวิทยาสรีรวิทยา และการประยุกต์ความรู้ด้านจุลชีววิทยาในเชิงวิชาชีพสาขาต่าง ๆ เช่น ทางด้านอุตสาหกรรม อาหาร การแพทย์ การเกษตร สิ่งแวดล้อม และ เทคโนโลยีชีวภาพ ผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติการเทคนิคทางจุลวิทยาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งเทคนิค ทางอณูชีววิทยา เพื่อศึกษาในระดับสารพันธุกรรมของจุลินทรีย์ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประกอบอาชีพได้ หลากหลายและตรงตามที่ผู้เรียนสนใจหรือมีความถนัด โดยสาขาวิชานี้เป็นการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี และเมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิระดับปริญญาตรี
แนวทางการประกอบอาชีพ :
1.นักวิทยาศาสตร์จุลชีววิทยา (Microbiologist)
2.นักวิเคราะห์จุลชีววิทยา (QA-, QC-Micro Analyst)
3.เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ (QC)
4.เจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (RD Microbiologist)
5.เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา
6.ตำรวจพิสูจน์หลักฐานด้านจุลชีววิทยา (แผนกชีวโมเลกุล)
7.เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพน้ำ
8.นักวิจัย/นักวิชาการในหน่วยงานของรัฐและเอกชน
9.ผู้แทนขายผลิตภัณฑ์ทางจุลชีววิทยา และเครื่องมือวิทยาศาสตร์
10. ผู้ประกอบการอิสระทางด้านจุลชีววิทยา

วิทยาการข้อมูลและสถิติ ศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์และ การตัดสินใจทางสถิติ การสำรวจ เทคนิคการจัดการข้อมูล การวิจัย การควบคุมคุณภาพ และการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับสถิติ
แนวทางการประกอบอาชีพ :
1.นักสถิติ
2.นักวิจัย/นักวิเคราะห์
3.ครู/อาจารย์
4.นักวิชาการ
5.เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ
6.นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
7.เจ้าหน้าที่วางแผนการผลิต
8.ผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือนักธุรกิจ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เป็นสาขาวิชาที่เรียนครอบคลุมในเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่น ในสาขาชีววิทยา สาขาเคมี สาขาฟิสิกส์ และนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์เพื่อสร้างความเข้าใจและนำไปแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความซับซ้อนมากกว่าในอดีต ทั้งปัญหาในระดับท้องถิ่นและปัญหาในระดับโลก โดยเรียนรายวิชาเฉพาะด้าน เช่น การควบคุมมลพิษ การจัดการสิ่งแวดล้อม ฯลฯ อันจะนำไปสู่การสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติที่จะมีส่วนช่วยป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อมบนโลกของเรา
แนวทางการประกอบอาชีพ :
1. เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ
2. เจ้าหน้าที่การจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรม
3. เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขสิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
4. เจ้าหน้าที่ในห้องปฎิบัติการด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
5. นักวิจัยหรือนักวิชาการในสถานประกอบการ
6. นักสื่อสาร ส่งเสริม และสนับสนุนกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
7. ผู้ประกอบการอิสระทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม