Icon

Description Field of Study

ลักษณะสาขาวิชา

การพัฒนาชุมชน ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฏีและหลักการพัฒนาชุมชน กระบวนการพัฒนาชุมชน การวางแผนพัฒนาชุมชน การวิเคราะห์ปัญหาชุมชนและแนวทางการพัฒนา การพัฒนาบุคลิกภาพ การพัฒนาเยาวชน การปกครองท้องถิ่น ฯลฯ
แนวทางการประกอบอาชีพ :
ทำงานในหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชนในตำแหน่งที่เกี่ยวกับงานพัฒนาชุมชน เช่น กทม. เทศบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และในองค์การพัฒนาของเอกชน

ทัศนศิลป์ ศึกษาเกี่ยวกับ การวาดเส้น การออกแบบ การเขียนแบบศิลปะไทย สุนทรียภาพ การจัดสถานที่ การจัดนิทรรศการ
แนวทางการประกอบอาชีพ :
ทุกสาขาที่เกี่ยวข้องกับทางด้านศิลปะ

ภาษาจีน ศึกษาเกี่ยวกับ ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ให้เกิดความชำนาญและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยจะเน้นระเบียบกฎเกณฑ์การเขียนตัวอักษรจีนที่ถูกต้อง
แนวทางการประกอบอาชีพ :
ทำงานตามหน่วยงานต่าง ๆ ที่ใช้ภาษาจีน ครูสอนภาษาจีน มัคคุเทศก์ บริษัทนำเที่ยว ฯลฯ

ภาษาไทย ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนด้านภาษาศาสตร์ วรรณคดีไทย เน้นกิจกรรมที่ฝึกทักษะทางการพูด – การเขียน
แนวทางการประกอบอาชีพ :
สามารถประกอบอาชีพเป็นนักวิชาการภาษาไทย นักเขียน เจ้าหน้าที่ธุรการ/สำนักงาน/เลขานุการ/นักพิสูจน์อักษร/กองบรรณาธิการ/ครู/อาจารย์/นักข่าว/นักจัดรายการวิทยุ/พิธีกร

ภาษาอังกฤษธุรกิจ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพพร้อมด้วยทักษะความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษโดยเน้นการสื่อสารในบริบททางธุรกิจ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรอบรู้และมีศักยภาพสอดคล้องกับความต้องการทางตลาดแรงงานทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศและสังคมโลกในยุคดิจิทัล
แนวทางการประกอบอาชีพ :
1. บุคลากรในสถานประกอบการด้านธุรกิจโรงแรมและที่พัก เช่น พนักงานต้อนรับ พนักงาน ฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม
2. บุคลากรในสถานประกอบการด้านธุรกิจการท่องเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์ ตัวแทนบริษัทนำเที่ยว
3. บุคลากรในสถานประกอบการด้านธุรกิจการบิน เช่น พนักงานบริการภาคพื้นดิน พนักงาน ต้อนรับบนเครื่องบิน
4. พนักงานบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในประเทศและระหว่างประเทศ เช่น เจ้าหน้าที่ประสานงาน ต่างประเทศ ฝ่ายบริการลูกค้า เลขานุการ นักประชาสัมพันธ์ ตัวแทนฝ่ายขาย เจ้าหน้าที่ ฝ่ายการตลาด เจ้าหน้าที่ฝ่ายนำเข้าและส่งออก เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล
5. พนักงานในหน่วยงานภาครัฐ เช่น เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ประจำกระทรวง การต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานตำรวจท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน ตรวจคนเข้าเมือง
6. ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ครูสอนพิเศษภาษาอังกฤษ นักแปล ล่าม ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว

รัฐประศาสนศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง ระบบบริหารราชการไทย การพัฒนาชุมชน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ การบริหารงานคลัง กฎหมายอาญา การเมืองการปกครอง กระบวนการทางการเมือง สถาบันทางการเมือง รวมถึงปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางการเมือง โดยอาศัยองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาอื่นมาช่วยในการอธิบายหรือประกอบในการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในลักษณะของสหวิทยาการ
แนวทางการประกอบอาชีพ :
สามารถรับราชการทหาร ตำรวจ ปลัด อบต. รับราชการทางด้านการปกครอง ทำงานเอกชน (ฝ่ายบุคคล) หรือพนักงานราชทัณฑ์

รัฐศาสตร์ หลักสูตรรัฐศาสตร์บัณฑิตมุ่งผลิตบัณฑิตเป็นนักรัฐศาสตร์สมัยใหม่ บนฐานคิดของ “นักปฏิบัติการทางสังคม (Social Operator)” ที่มีความรอบรู้และมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยใช้วิธีสหวิทยาการแบบข้ามศาสตร์ (Interdisciplinary) บูรณาการองค์ความรู้สู่กิจการสาธารณะ เพื่อตอบสนองกระแสการเปลี่ยนแปลงในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับโลก
แนวทางการประกอบอาชีพ :
สร้างบุคลากรที่มีศักยภาพอย่างน้อย 4 ด้าน ประกอบด้วย
1. งานในภาครัฐ (Government Officials) ได้แก่ ปลัดอำเภอ ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ประสานงาน เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล เลขานุการบริหาร นักวิชาการศึกษา นักการทูต เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
2. งานในภาคเอกชน (Private Officials) เช่น เจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรบุคคล นักวิเคราะห์ กลยุทธ์ นักวิเคราะห์โครงการ งานด้านการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
3. งานในองค์กรไม่แสวงกำไร (Non-Government Organization, (NGOs)) เนื่องจาก นักรัฐศาสตร์ถูกปลูกฝังให้มีอุดมการณ์ทำเพื่อสังคม มีจิตอาสาที่จะช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาส การเข้าทำงานในองค์กรไม่แสวงกำไร เช่น มูลนิธิ องค์กรการกุศลที่มีภารกิจเฉพาะด้าน อาทิ นักสิทธิมนุษยชน นักสิทธิสตรี นักคุ้มครองเด็ก ช่วยเหลือด้านแรงงาน ช่วยเหลือผู้ผลัดถิ่น เป็นต้น
4. งานอิสระ (Freelance) สามารถเป็นนักคิด นักวางแผน นักเขียน นักวิจัยอิสระ ที่ปรึกษา นักจิตวิทยา นักเจรจาไกล่เกลี่ย และความสามารถในการวิเคราะห์