Icon

Description Field of Study

ลักษณะสาขาวิชา

การจัดการ พัฒนาบุคคลให้เป็นผู้มีความรู้ ทักษะทางด้านการจัดการตามมาตรฐาน โดยให้มีการเรียนการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้ ประสบการณ์ และสามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในด้านต่าง ๆ หรือทำการประกอบธุรกิจของตนเองได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางการประกอบอาชีพ :
ประกอบอาชีพอิสระ เช่น การเป็นผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ ประกอบอาชีพตามสถานประกอบการต่าง ๆ เช่น ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ด้านการบริหารจัดการ การคลังสินค้า การขนส่ง การกระจายสินค้า การส่งออก การวางแผนการผลิต เป็นต้น เข้ารับราชการและรัฐวิสาหกิจ เช่น นักวิชาการวางแผน นักวิเคราะห์ระบบ เป็นต้น

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ มุ่งผลิตบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองความต้องการของตลาดแรงงาน ตลอดจนสามารถ สร้างธุรกิจส่วนตัวให้ประสบผลสำเร็จ โดยการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การจัดกิจกรรมต่าง ๆ การศึกษาจากกรณีศึกษา เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมด้านความรู้ความสามารถในวิชาชีพและด้านคุณธรรม จริยธรรม
แนวทางการประกอบอาชีพ :
ทำงานในองค์การธุรกิจ และหน่วยงานราชการ โดยลักษณะ งานที่เกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร การฝึกอบรม พัฒนาและการประเมินผลงาน การบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ การพนักงานสัมพันธ์ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัญหาบุคลากร และการให้คำปรึกษาด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบอาชีพอิสระ และธุรกิจส่วนตัว

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (เทียบโอน) มุ่งผลิตบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองความต้องการของตลาดแรงงาน ตลอดจนสามารถ สร้างธุรกิจส่วนตัวให้ประสบผลสำเร็จ โดยการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การจัดกิจกรรมต่าง ๆ การศึกษาจากกรณีศึกษา เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมด้านความรู้ความสามารถในวิชาชีพและด้านคุณธรรม จริยธรรม
แนวทางการประกอบอาชีพ :
ทำงานในองค์การธุรกิจ และหน่วยงานราชการ โดยลักษณะ งานที่เกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร การฝึกอบรม พัฒนาและการประเมินผลงาน การบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ การพนักงานสัมพันธ์ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัญหาบุคลากร และการให้คำปรึกษาด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบอาชีพอิสระ และธุรกิจส่วนตัว

การตลาด มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถด้านการบริหารการตลาด โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ เรียนรู้การเขียนแผนธุรกิจ วิเคราะห์สถานการณ์ ทางการตลาด กลยุทธ์การตลาด รวมถึงการวิเคราะห์กรณีศึกษาทางการตลาด และแก้ปัญหา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
แนวทางการประกอบอาชีพ :
ประกอบอาชีพในองค์กรธุรกิจทั้งทางด้านการตลาด บริหารธุรกิจ เป็นนักการตลาดในหน่วยงานธุรกิจ เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด ผู้จัดการฝ่ายการตลาด เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยการตลาด เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมด้านการตลาด ฝ่ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมการตลาด ฝ่ายโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ฝ่ายส่งเสริมการขาย นักวิเคราะห์และวางแผน ในระดับหน่วยงาน องค์กรธุรกิจต่าง ๆ ประกอบอาชีพในองค์การรัฐวิสาหกิจ เป็นพนักงานฝ่ายการตลาด ฝ่ายบุคคล เป็นนักวิชาการในสายงานบริหารธุรกิจ ประกอบอาชีพในหน่วยงานภาครัฐบาล อาจารย์ผู้สอน สาขาการตลาดในสถาบันการศึกษา ประกอบอาชีพอิสระในด้านบริหารธุรกิจ ประกอบธุรกิจส่วนตัว และบริหารงานด้านการตลาด

การท่องเที่ยวและนวัตกรรมการบริการ เป็นสาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่มีลักษณะสำคัญ คือ การบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาเป็นหลักสูตรวิชาชีพที่ทันสมัย เน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สาขาวิชานี้จึงมีศาสตร์ที่ครอบคลุมการวางแผนและการพัฒนา การบริหาร การสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ การตลาด การวิจัย ภาษาต่างประเทศ กฎหมาย และการอนุรักษ์ความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ การศึกษาสาขาวิชานี้ ผู้เรียนสามารถขยายองค์ความรู้ให้สูงขึ้น จนถึงระดับปริญญาเอกได้ บัณฑิตในสาขาวิชานี้สามารถประกอบอาชีพในการให้บริการ การปฏิบัติงานและการบริหารในหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจอื่น ๆ
แนวทางการประกอบอาชีพ :
พนักงานในบริษัทนำเที่ยว หรือตัวแทนท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ พนักงานสายการบิน พนักงานในโรงแรม รีสอร์ท และสถานประกอบการด้านที่พักต่าง ๆ ผู้ประกอบการบริษัทนำเที่ยว หรือตัวแทนท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐหรือวิสาหกิจซึ่งเกี่ยวกับการท่องเที่ยว พนักงานในธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว นักวิชาการด้านการท่องเที่ยว

คอมพิวเตอร์ธุรกิจ เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างความรู้ ความเข้าใจและทักษะ ในด้านคอมพิวเตอร์ และหลักการด้านธุรกิจให้แก่นักศึกษา เน้นการสอนในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ บนหลักการพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ ด้วยเทคนิควิธีการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นความเข้าใจ และการปฏิบัติงานได้จริง โดยมุ่งสร้างความรู้และทักษะในด้านการวิเคราะห์ปัญหา การออกแบบและการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล การรักษา ความปลอดภัยบนเครือข่ายและระบบสารสนเทศ การประยุกต์ใช้ในโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อการสร้างงาน และความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางด้านโลจิสติกส์ รวมถึงเสริมสร้างความรู้ทางด้านกฎหมาย ทั้งทางด้านธุรกิจและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ควบคู่กับการสอนหลักการทางธุรกิจ การบริหารจัดการองค์กรธุรกิจ การเงิน การบัญชี การตลาด เศรษฐศาสตร์ และสถิติโดยเสริมสร้างให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถ และทักษะในการวิเคราะห์ระบบงานทางด้านธุรกิจ การเลือกและจัดทำระบบงานคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม กับธุรกิจนั้น ๆ ตลอดจนบริหารจัดการให้มีการใช้ระบบงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดทำโครงงานด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ อีกทั้งยังได้มุ่งเน้นทักษะการทำงานเป็นทีม ความอดทน และความรับผิดชอบ ในการทำงาน
แนวทางการประกอบอาชีพ :
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์และออกแบบ ระบบคอมพิวเตอร์ นักเขียนโปรแกรมประยุกต์ ผู้จัดการโครงการคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาเว็บไซต์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล ผู้ดูแลระบบเครือข่าย ผู้ตรวจสอบงานคอมพิวเตอร์ ผู้ประกอบการอิสระ เช่น พัฒนาซอฟต์แวร์ ติดตั้งบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ ครู/อาจารย์ในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

คอมพิวเตอร์ธุรกิจ (เทียบโอน) เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างความรู้ ความเข้าใจและทักษะ ในด้านคอมพิวเตอร์ และหลักการด้านธุรกิจให้แก่นักศึกษา เน้นการสอนในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ บนหลักการพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ ด้วยเทคนิควิธีการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นความเข้าใจ และการปฏิบัติงานได้จริง โดยมุ่งสร้างความรู้และทักษะในด้านการวิเคราะห์ปัญหา การออกแบบและการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล การรักษา ความปลอดภัยบนเครือข่ายและระบบสารสนเทศ การประยุกต์ใช้ในโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อการสร้างงาน และความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางด้านโลจิสติกส์ รวมถึงเสริมสร้างความรู้ทางด้านกฎหมาย ทั้งทางด้านธุรกิจและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ควบคู่กับการสอนหลักการทางธุรกิจ การบริหารจัดการองค์กรธุรกิจ การเงิน การบัญชี การตลาด เศรษฐศาสตร์ และสถิติโดยเสริมสร้างให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถ และทักษะในการวิเคราะห์ระบบงานทางด้านธุรกิจ การเลือกและจัดทำระบบงานคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม กับธุรกิจนั้น ๆ ตลอดจนบริหารจัดการให้มีการใช้ระบบงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดทำโครงงานด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ อีกทั้งยังได้มุ่งเน้นทักษะการทำงานเป็นทีม ความอดทน และความรับผิดชอบ ในการทำงาน
แนวทางการประกอบอาชีพ :
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์และออกแบบ ระบบคอมพิวเตอร์ นักเขียนโปรแกรมประยุกต์ ผู้จัดการโครงการคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาเว็บไซต์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล ผู้ดูแลระบบเครือข่าย ผู้ตรวจสอบงานคอมพิวเตอร์ ผู้ประกอบการอิสระ เช่น พัฒนาซอฟต์แวร์ ติดตั้งบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ ครู/อาจารย์ในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

นวัตกรรมการเงินและการลงทุน เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านการบริหารธุรกิจ เพื่อสนองความต้องการของตลาดแรงงาน ตลอดจนสามารถสร้างธุรกิจส่วนตัวได้ประสบผลสำเร็จ โดยการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การจัดกิจกรรมต่าง ๆ การศึกษาจากกรณีศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ยึดหลักการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อม ทั้งด้านความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และด้านคุณธรรมจริยธรรม
แนวทางการประกอบอาชีพ :
สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน หรือสามารถดำเนินกิจการส่วนตัวได้ เช่น บริษัทห้างร้านต่าง ๆ โดยเฉพาะฝ่ายสินเชื่อ ฝ่ายการเงิน สถาบันการเงิน กองการเงิน กองคลัง กองบัญชี กรมต่าง ๆ เช่น กรมการเงิน กรมสรรพากร กรมศุลกากร บริหารการเงินด้านงบประมาณ ด้านการวางแผนและควบคุม เป็นต้น

บัญชีบัณฑิต พัฒนาบุคคลให้เป็นผู้มีความรู้ ทักษะทางวิชาชีพบัญชีตามมาตรฐาน โดยให้มีการเรียนและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ตามข้อกำหนดของสภาวิชาชีพบัญชี รวมถึงการพัฒนา องค์ความรู้และประสบการณ์ทางด้านที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ และสามารถประกอบอาชีพทางด้านการทำบัญชี การสอบบัญชี บัญชีบริหาร การภาษีอากร และเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางการประกอบอาชีพ :
ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบวิชาชีพบัญชี ได้ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ และพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ และวิชาชีพอื่น ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในลักษณะของการประกอบวิชาชีพอิสระ และการเข้าทำงานในองค์กรหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ดังต่อไปนี้ ด้านการทำบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านบัญชีบริหาร ด้านการภาษีอากร ด้านการวางระบบบัญชี ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีทางการบัญชี ด้านการตรวจสอบภายใน ด้านการให้คำปรึกษาทางการเงินและบัญชี ด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง

บัญชีบัณฑิต (เทียบโอน) พัฒนาบุคคลให้เป็นผู้มีความรู้ ทักษะทางวิชาชีพบัญชีตามมาตรฐาน โดยให้มีการเรียนและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ตามข้อกำหนดของสภาวิชาชีพบัญชี รวมถึงการพัฒนา องค์ความรู้และประสบการณ์ทางด้านที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ และสามารถประกอบอาชีพทางด้านการทำบัญชี การสอบบัญชี บัญชีบริหาร การภาษีอากร และเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางการประกอบอาชีพ :
ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบวิชาชีพบัญชี ได้ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ และพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗ และวิชาชีพอื่น ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในลักษณะของการประกอบวิชาชีพอิสระ และการเข้าทำงานในองค์กรหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ดังต่อไปนี้ ด้านการทำบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านบัญชีบริหาร ด้านการภาษีอากร ด้านการวางระบบบัญชี ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีทางการบัญชี ด้านการตรวจสอบภายใน ด้านการให้คำปรึกษาทางการเงินและบัญชี ด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง

เศรษฐศาสตรบัณฑิต เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจใช้ทรัพยากรที่มี อย่างจำกัด นำมาซึ่งสวัสดิการสูงสุดของสังคม เป็นสาขาที่มีลักษณะเป็นวิชาการคิดวิเคราะห์ เป็นเหตุเป็นผล เชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ได้แก่ สังคมและวัฒนธรรม กฎหมาย การเมือง วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม เพื่อบูรณาการในการวางแผนและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และเหมาะสมกับสภาวการณ์และบริบททางสถาบันที่เปลี่ยนแปลง ทั้งระดับปัจเจกบุคคล องค์กรภาครัฐ องค์กรท้องถิ่น และเอกชน การเปลี่ยนแปลงในระดับประเทศ และระดับโลก
แนวทางการประกอบอาชีพ :
ภาคเอกชน การเข้าสู่อาชีพในภาคเอกชน ได้แก่ พนักงาน ของสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น พนักงานสินเชื่อในธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ พนักงานในบริษัทเงินทุน และบริษัทหลักทรัพย์ เจ้าหน้าที่การเงิน พัสดุ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขาย และอื่น ๆ ของบริษัทธุรกิจเอกชน การประกอบอาชีพอิสระ หรือธุรกิจส่วนตัว ซึ่งผู้ที่เรียนจบในสาขาเศรษฐศาสตร์ สามารถนำเอาความรู้ที่ได้จากการเรียน ไปเป็นแนวทางในประกอบกิจการส่วนตัว ภาครัฐบาล การเข้าสู่อาชีพในภาครัฐบาลแบ่งได้อีก ๒ ประการ คือ ๑. การบรรจุเข้ารับราชการ ในส่วนราชการต่าง ๆ อาจเป็นกรมที่มีบทบาทในการศึกษาวิเคราะห์เสนอแนะนโยบายเศรษฐกิจ หรือกองที่ศึกษาทางด้านเศรษฐกิจของกรมใดกรมหนึ่ง หรือระดับงานที่ศึกษาทางด้านเศรษฐกิจของกองใดกองหนึ่ง โดยจะมีชื่อของตำแหน่งที่แตกต่างกันออกไปตามส่วนราชการที่สังกัด เช่น เศรษฐกร เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการงบประมาณ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณ นักวิชาการส่งเสริมการลงทุน นักวิชาการภาษี นักวิชาการสรรพากร นักวิชาการคลัง นักวิชาการพาณิชย์ นักวิชาการสหกรณ์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ผังเมือง นักวิชาการพาณิชย์นาวี นักวิชาการขนส่ง นักวิชาการสื่อสาร พัฒนากร นักวิชาการพัฒนาชุมชน นักวิชาการแรงงาน รวมไปถึง อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา เป็นต้น ๒. การบรรจุเข้าเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ เช่น ตำแหน่งเศรษฐกรผู้ช่วย ในธนาคารแห่งประเทศไทย พนักงานของธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง เป็นต้น