Icon

Description Field of Study

ลักษณะสาขาวิชา

เกษตรศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับการปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ เช่น หลักพืชศาสตร์ หลักการเลี้ยงสัตว์ปฐพีวิทยา การขยายพันธุ์พืช ศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช การปลูกพืชแบบไร้ดิน ไม้ผล พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ การผลิตเห็ด การผลิตสัตว์ปีก เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เศรษฐศาสตร์เกษตรและการจัดการฟาร์ม การผลิต การแปรรูป และการจำหน่ายสินค้าเกษตร
แนวทางการประกอบอาชีพ :
งานราชการ ได้แก่ นักวิชาการเกษตร นักส่งเสริมการเกษตร นักวิจัย และ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ในส่วนราชการ เช่น กรมวิชาการเกษตร การส่งเสริมการเกษตร กรมป่าไม้ หรือ เป็นผู้สอน หรือผู้ฝึกอบรมในสถาบันที่มี่การสอนทางด้านเกษตร องค์การบริหารส่วนตำบล พนักงานรัฐวิสาหกิจ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ กองทุนสงเคราะห์สวนยาง งานเอกชน ได้แก่ นักส่งเสริม และนักวิจัยในบริษัทเอกชน เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ผู้ควบคุมการผลิต หรือ พนักงานขาย ในบริษัท หรือพนักงานในฟาร์มพืชหรือฟาร์มสัตว์เศรษฐกิจ ประกอบอาชีพส่วนตัวเป็นเจ้าของฟาร์มพืช- เศรษกิจ เช่น ไม้ผล กล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ ผัก เจ้าของฟาร์มสัตว์เศรษฐกิจ เช่น ฟาร์มไก่ และประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเกษตร และผลิตภัณฑ์ทั้งภายในและต่างประเทศ การศึกษาต่อ สามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรีในสาขาหรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เทคโนโลยีการเกษตร ศึกษาเกี่ยวกับชีวเคมี พันธุศาสตร์ สารเคมีในการเกษตร เทคนิคและการใช้ดิน ปุ๋ย น้ำ วิทยาการเก็บเกี่ยว การขยายพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ การแปรรูปการเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร
แนวทางการประกอบอาชีพ :
เป็นผู้ประกอบการเกษตร ธุรกิจท่องเที่ยวการเกษตร กิจการด้านการส่งเสริมการเกษตร อุตสาหกรรม กิจการที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพัฒนาทางด้านเกษตรกรรม ทำงานที่กรมป่าไม้ กรมพัฒนาที่ดิน กรมประมง ฟาร์มปศุสัตว์ บริษัทเคมีภัณฑ์ โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในแหล่งน้ำทางด้านเคมี กายภาพ และชีวภาพ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สิ่งมีชีวิตในน้ำ การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ การเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ มีนวิทยา โรคพยาธิ ศัตรูสัตว์น้ำและเทคนิควิชาการเพาะเลี้ยงสิ่งมีชีวิตในน้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์ชายฝั่งทะเล นิเวศวิทยาทางทะเล มลพิษในแหล่งน้ำ ฯลฯ
แนวทางการประกอบอาชีพ :
การเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา นักวิเคราะห์คุณภาพน้ำ นักวิชาการ กรมประมง (ศูนย์วิจัยและพัฒนาการประมงน้ำจืดและชายฝั่ง ประจำจังหวัดต่าง ๆ) เพาะพันธุ์ไม้น้ำ จำหน่ายอุปกรณ์สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

นวัตกรรมและเทคโนโลยีอาหาร นวัตกรรมและเทคโนโลยีอาหาร ศึกษาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานในการผลิตอาหารอย่างปลอดภัย กฎหมายและมาตรฐานอาหาร การสร้างสรรค์นวัตกรรมอาหาร การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร
แนวทางการประกอบอาชีพ :
สามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เช่น
-ธุรกิจส่วนตัว : การแปรรูปอาหาร ที่ปรึกษาด้านอาหาร นักพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร การนำเข้าและส่งออกอาหาร
-พนักงานเอกชน : ด้านการผลิตอาหาร การประกันคุณภาพอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ความปลอดภัยของอาหาร
-รับราชการ : นักวิชาการ นักวิจัยในหน่วยงาน เช่น กระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัย หน่วยงานจังหวัด และหน่วยงานอื่นๆ